วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

ฟอสซิลไดโนเสาร์ในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยนั้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์บริเวณใกล้เทือกเขาภูพาน ที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดกินพืชและเนื้อ มีอายุประมาณ 150 ล้านปี โดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีทำการขุดสำรวจและพบซากฟอสซิลของไดโนเสาร์และซากของสัตว์โบราณหลายชนิด นอกจากนี้ยังพบซากกระดูกของจระเข้ ฟันของปลาฉลามน้ำจืด ปลาโบราณจำนวนมาก ต้องใช้เวลาในการขุดอีกนานเพื่อที่จะได้ซากฟอสซิลไดโนเสาร์มีความสมบูรณ์ที่สุดและทำให้รู้ว่า เป็นซากฟอสซิลกระดูกในยุคสมัยใด และเป็นฟอสซิลของสัตว์อะไรบ้าง ส่วนฟอสซิลที่สามารถขุดพบได้ในขณะนี้ก็จะส่งไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สิรินธรก่อน เนื่องจากต้องการเครื่องมือที่ทันสมัยทำความสะอาดและเก็บรักษา บริเวณนั้นเป็นสถานที่พบต้นไม้กลายเป็นหินจำนวนมาก

ความยากลำบากในการประกอบซากฟอสซิลไดโนเสาร์


ซากฟอสซิลมักซุกติดในหินดังนั้นมักจำเป็นที่จะต้องทำการใช้อุปกรณ์ประเภทสิ่วสกัดอย่างทะนุถนอมที่สุด มีบ่อยครั้งที่ต้องใช้เครื่องกรอ (แบบเดียวกับที่หมอฟันใช้) ทำการแซะไปเรื่อยๆ ต้องระมัดระวังห้ามใจร้อนเด็ดขาด เพราะฟอสซิลนั้นมีลักษณะแห้งและแข็ง แต่เปราะมากแตกหักได้ง่ายอย่าบอกใคร หากเิกิดพลาดพลั้งมือทำให้มันหักต้องใช้กาวชนิดพิเศษเท่านั้นในการสมานให้เหมือนเดิมที่สุด
ทีนี้การนำส่วนประกอบแต่ละชิ้นมาประกอบให้ได้ทั้งตัวนั้นยิ่งยากมาก คล้ายกันการเล่นต่อภาพจิ๊กซอว์เลย แต่ว่าลำบากยากเข็ญกว่าหลายขุม เพราะลำพังต่อจิ๊กซอว์มีภาพให้ดูบนกล่อง แต่การประกอบเจ้าชิ้นฟอสซิลไม่มีรูปภาพอย่างนั้น จะต้องเดาสุ่มต่อทีละชิ้น

นักวิทยาศาตร์ต้องพึ่งพาภาพถ่ายจากจุดที่ขุดพบซากฟอสซิล และสังเกตแต่ละชิ้นวางระเกะระกะยังไง นักวิทยาศาตร์เหล่านี้ล้วนมีทักษะอย่างสูง และต้องฝึกฝนเป็นระยะเวลายาวนาน งานประกอบฟอสซิลขึ้นทั้งตัวใช้เวลานานมาก แต่เมื่อทำสำเร็จจะมีคุณค่าสูง หลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์อีกลุ่มหนึ่งจะมาช่วยประเมินว่า ฟอสซิลทั้งตัวเป็นสัตว์ชนิดใด

อุจจาระไดโนเสาร์ทำไมถึงก้อนเล็กนิดเดียว


ซากอุจจาระของไดโนเสาร์พบได้ยากมาก โดยเฉพาะอุจจาระของสัตว์ กินเนื้อเป็นอาหารที่มักเน่าสลายจนหมดสิ้น และต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่พอเหมาะพอดีีจริงๆถึงจะกลายเป็นฟอสซิลได้ ส่วนที่หลงเหลืออยู่ก็มักจะไม่ใช่รูปทรงดั้งเดิมตั้งแต่แรกเพราะมักถูกสภาพแวดล้อมกัดกล่อนตามเวลาจนสังเกตุแทบไม่ออก
ฟอสซิลอุจจาระอันเล็กๆที่เราเห็นนั้นอาจมาจากไดโนเสาร์ตัวใหญ่มาก ซึ่งตอนแรกอาจกองใหญ่แต่ถูกดิน น้ำ ลม พัดพาจนทำให้เหลือก้อนเล็กนิดเดียวโดยทั่วไปฟอสซิลอุจจาระจะไม่มีกลิ่น กลายเป็นก้อนหินแข็งมาก องค์ประกอบสารอินทรีย์นั้นจะถูกแทนที่ด้วยสารอนินทรีย์ ซึ่งนั่นก็คือหินปูนนั่นเอง

แล้วจะศึกษาอุจาระของไดโนเสาร์ไปทำไมกัน?

ด๊อกเตอร์ คาเรน ชิน ได้เฉลยว่า "มีเหตุผลอยู่มากมายอย่างยิ่ง
อันดับแรกซากอุจจาระ ได้แสดงให้เห็นถึงอาหารที่สัตว์ดึกดำบรรพ์นั้นได้กินลงไป ทำให้ดู้ได้เจ้าตัวไหนชอบกินตัวไหน พูดง่ายๆคือ ทำให้รู้ถึงห่วงโซ่อาหารของมันได้"
ยกตัวอย่างเช่น เจ้าคอปโปรไลต์บางชิ้นที่พบในท้องของเจ้าอิชไธโอซอร์มีสีดำปี๋ นักวิชาการเลยเดาว่าอาหารโอชารสของอิชไธโอซอร์คือ ปลาหมึกดึกดำบรรพ์นั่นเอง (น้ำหมึกสีดำ)
"องค์ประกอบอุจจาระสัตว์บ่งบอกได้ว่าเหยื่อที่ถูกหม่ำเป็นพืชหรือสัตว์ชนิดใดบ้าง สัตว์และพืชแต่ละชนิดมีธาตุบางตัวเข้มข้นต่างจากชนิดอื่น ถ้าพบเห็นซากกระดูกจะจะก็สามารถสรุปได้ว่า เจ้าของอุจจาระนั้นเป็นสัตว์ที่กินเนื้อ"

เชื่อหรือไม่ว่าฟอสซิลอุจจาระเกิดก่อนคำว่าไดโนเสาร์

ดังนั้นคำว่า Coprolite หรือ ฟอสซิลอึ หรือ ฟอสซิลอุจจาระเกิดก่อนคำว่าไดโนเสาร์ ตอนแรก นักวิทยาศาตร์เรียกฟอสซิลอึว่า นิ่วหิน (Bezoar stone) เพราะเข้าใจว่าเป็นก้อนนิ่ว ไม่ใช่อุจจาระของสัตว์ คือ พบในช่องท้องซากสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ชื่อว่าเจ้าอิชไธโอซอร์ (Ichthyosaur) ซึ่งเมื่อทำการกะเทาะนิ่วหินแตก ภายในนั้นเจอฟอสซิลเศษกระดูกของปลา และบางทีเจอฟอสซิลเศษอิชไธโอซอร์ที่มีขนาดเล็กอีกด้วย อนึ่งเจ้าสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ชื่อว่า อิชไธโอซอร์ เป็นสัตว์น้ำประเภทสัตว์ เลื้อยคลานดูคล้ายกับปลาโลมารามกันกับแกะ เป็นนักล่า นิสัยเหี้ยมเกรียมแห่งมหาสมุทรดึกดำบรรพ์

วิชาศึกษาซากอุจจาระดึกดำบรรพ์ หรือที่เรียกว่า Coprolite

คำว่า Coprolite มีการเริ่มใช้ประมาณ 170 ปีที่แล้ว รากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ
คำแรก Copro แปลตรงๆว่า "อึ"
คำที่สอง Lithos แปลว่า หิน
ดังนั้นเมื่อนำมารวมกันเป็น Coprolite จึงหมายถึงอุจจาระหิน
ผู้ที่ทำการบัญญัติศัพท์เป็นนักวิชาการชาวอังกฤษ ชื่อวิลเลียม บัคแลนด์
วิลเลียม บัคแลนด์ เก่งเรื่องไดโนเสาร์อย่าบอกใคร เขาเป็นบุคคลแรกที่พบซากไดโนเสาร์ ตั้งแต่ยังไม่มีศัพท์ "ไดโนเสาร์" เขาเรียกซากไดโนเสาร์ว่า เมกกะโลซอร์ (Megalosaur) แปลว่ากิ้งก่ายักษ์
อีก 20 ปีต่อมา นักวิชาการถึงเรียกว่าไดโนเสาร์ ผู้บัญญัติศัพท์ไดโนเสาร์เป็นฝรั่งอังกฤษเช่นกัน ชื่อ "ริชาร์ด โอเวน" ซึ่งนั่นเป็นเรื่องเมื่อ 150 ปีที่แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

อุจจาระหรืออึของไดโนเสาร์


ถ้าพูดถึงเรื่องของอุจจาระหรืออึ ใครๆก็คงจะร้องยี้ไม่อยากคุยด้วย เพราะเพียงแค่คิดมันก็มีแต่สิ่งที่คนไม่อยากจะมองกัน เหม็นอีกต่างหาก แต่เรื่องของอุจจาระก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ไม่น่าสนไจไปเสียทุุกเรื่องเพราะหากพูดถึงอุจจาระไดโดเสาร์ดึกดำบรรพ์ มันเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาแน่นอน คุณว่าหรือเปล่า
ฝรั่งเขาถึงกับตั้งสาขาวิชาแปลกๆ(ของบ้านเรา)ว่าวิชาอึได้โดเสาร์ โดยเขาจะเน้นศึกษาฟอสซิล(ซากดึกดำบรรพ์)อุจจารระไดโนเสาร์เพียงอย่างเดียว